e-Learning ในประเทศไทย

ปัจจุบัน คำว่า e-Learning (อีเลิร์นนิง) เป็นคำที่คุ้นเคยกันดี เนื่องจากประเทศไทยใช้การเรียนการสอนระบบนี้มานาน โดยเริ่มจากยุคที่เรียกว่าการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television Station: DLTV) มาถึงยุคปัจจุบันที่ส่วนใหญ่เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการเรียนออนไลน์ (Online Learning) โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สถานศึกษาทั้งหมดต้องใช้ระบบการเรียนออนไลน์แทนการเดินทางไปเรียนในห้องเรียน

รูปแบบของ e-Learning ในประเทศไทย

รูปแบบการนำเสนอการศึกษาระบบ e-Learning ของไทยมี 3 รูปแบบ คือ

  1. เรียนทางเว็บไซต์ (Web Based Learning: WBI) โดยใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการนำเสนอเนื้อหาและคอนเทนต์ต่าง ๆ และใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียรวมทั้ง Web Programming มาควบคุมการนำเสนอรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ระบบทดสอบ ระบบรายงานผล และระบบสมาชิก
  2. เรียนออนไลน์เต็มรูปแบบ (Online Learning) เป็นรูปแบบการศึกษาออนไลน์ที่พัฒนาเพิ่มเติมจาก WBI โดยเพิ่มระบบบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียน (Course/Learning Management Systems: CMS/LMS) สำหรับใช้บริหารจัดการเนื้อหา ตรวจสอบ และติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Hybrid Learning) โดยนำวิธีการสอนแบบออนไลน์ และการพบปะผู้เรียนในห้องเรียนมาใช้ด้วยกัน ในการเรียนการสอนวิชาเดียวกัน

หนังสือเกี่ยวกับ e-Learning ที่น่าสนใจ

หนังสือเกี่ยวกับ e Learning ที่น่าสนใจ - e-Learning ในประเทศไทย

มีหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กเกี่ยวกับ e-Learning จำนวนหนึ่งสำหรับผู้สอน ผู้จัดทำบทเรียนรายวิชา และผู้บริหารระบบ e-Learning ที่วางจำหน่ายตามร้านและทางออนไลน์ โดยส่วนหนึ่งของหนังสือที่น่าสนใจ ได้แก่ พ็อกเก็ตบุ๊กชื่อ

ติดตั้งและบริหารระบบ e-Learning ด้วย Moodle (ฉบับสมบูรณ์)

เคล็ดลับการออกแบบ e-Learning สำหรับนักออกแบบและผู้สอน

การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง